Feature

จุดกำเนิดการย้ายทีม 100 ล้านยูโรคนแรก เปิดทางสู่มูลค่าการตลาดหมื่นล้าน ยกระดับ Class พรีเมียร์ลีก อย่างนุ่มลึก

GUINNESS ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของ Premier League อยากชวนทุกคนมาลองสัมผัสเรื่องราวสุดนุ่มลึก  “จุดกำเนิดการย้ายทีม 100 ล้านยูโรคนแรก  เปิดทางสู่มูลค่าการตลาดหมื่นล้าน ยกระดับ Class พรีเมียร์ลีกอย่างนุ่มลึก”

ถ้าพูดถึงลีกฟุตบอลที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง หลายคนคงนึกถึง “พรีเมียร์ลีก”  ลีกสูงสุดของอังกฤษที่มีการแข่งขันสูง ทั้งในแง่ของการแข่งขันในสนาม และในแง่ของการตลาด โดยสองสิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นควบคู่กันไป ทำให้ผู้คนสนใจและให้ความนิยมชมชอบ เสน่ห์ของพรีเมียร์ลีก แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย 

ในโลกของฟุตบอลที่เต็มไปด้วยความสวยงามในสนาม มีปรากฏการณ์หนึ่งที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของวงการฟุตบอลทั่วโลก อย่างไม่อาจย้อนกลับได้ นั่นคือการย้ายทีมที่มีมูลค่า 100 ล้านยูโร คนแรก ที่เกิดขึ้นในปี 2013 จนนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการตลาดของ พรีเมียร์ลีก อย่างนุ่มลึก...ติดตามต่อที่ Main Stand

 

แกเร็ธ เบล กลายเป็นนักเตะคนแรกที่ถูกจารึกชื่อเอาไว้ว่า มีค่าตัวในการย้ายทีมมากกว่า 101 ล้านยูโร (หรือราว 85.3 ล้านปอนด์ ในเวลานั้น) หลัง สเปอร์ส บรรลุข้อตกลงกับ เรอัล มาดริด ซึ่งก่อนหน้านี้ แทบไม่มีใครเชื่อว่าจะมีสโมสรไหนกล้าจ่ายเงินก้อนโตขนาดนั้น เพียงเพื่อซื้อนักเตะคนเดียว แต่ ฟลอเรนติโน เปเรซ ประธานสโมสรเรอัล มาดริด กลับมองเห็นคุณค่าที่เกินกว่าตัวเลข เขามองว่า เบล ไม่ใช่แค่นักเตะ แต่เป็นการลงทุนทางธุรกิจที่จะสร้างผลตอบแทนทั้งในและนอกสนาม

การย้ายทีมของ เบล ในครั้งนั้น สร้างแรงกระเพื่อมต่อตลาดซื้อ-ขายนักเตะไปทั่วโลก ซึ่งหลังจากนั้นเพียง 3 ปี นักเตะที่มีมูลค่า เกิน 100 ล้านยูโร คนที่สอง ก็ได้ตามมา ในดีลการย้ายกลับมายังพรีเมียร์ลีกอีกครั้งของ พอล ป็อกบา ที่ แมนฯยูไนเต็ด ยื่นข้อเสนอให้กับ ยูเวนตุส ด้วยค่าตัว 105 ล้านยูโร

 

จากนั้นดีลนักเตะที่มูลค่ามหาศาลได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งดีลที่ย้ายออก เช่น ฟิลิปเป คูตินโญ่ ที่ย้ายจากลิเวอร์พูล ไปบาร์เซโลน่า ด้วยค่าตัว 135 ล้านยูโร ในปี 2018 , เอเดน อาซาร์ ย้ายจากเชลซี ไปเรอัล มาดริด ด้วยค่าตัว 120 ล้านยูโร ในปี 2019 ..ส่วนดีลย้ายเข้าสู่พรีเมียร์ลีก ของ เอ็นโซ่ เฟร์นันเดซ ที่ย้ายมาจากเบนฟิก้า ด้วยค่าตัว 121 ล้านยูโร ในปี 2022 หรือกระทั่งการย้ายข้ามฝั่งจากทีมในพรีเมียร์ลีกด้วยกันเอง อย่างดีลของ แจ็ค กรีลิช ที่ย้ายจากแอสตัน วิลลา ไปอยู่กับ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในปี 2021 ด้วยค่าตัวเป็นสถิติสโมสร ที่ 117 ล้านยูโร 

รวมถึงการมาของ เควิน เดอ บรอยน์ ที่เข้ามาอยู่กับ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ เวอร์จิล ฟาน ไดจ์ค ที่กลายมาเป็นหัวใจสำคัญของเกมรับ ลิเวอร์พูล จะเห็นได้ว่าการซื้อขายที่มีมูลค่าสูงของทีมในพรีเมียร์ลีกนั้น สามารถดึงดูดนักเตะฝีเท้าดีได้มากมาย เป็นอีกหนึ่งในส่วนสำคัญที่เข้ามาเพิ่มมิติสุดนุ่มลึกให้กับฟุตบอลพรีเมียร์ลีก

สถิติที่ถูกทำลายซ้ำแล้วซ้ำเล่านี้ ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขที่น่าตื่นตาตื่นใจ แต่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของวงการฟุตบอลที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเริ่มจากการย้ายทีมด้วยมูลค่าเกิน 100 ล้านยูโรครั้งแรก ของ แกเร็ธ เบล

 

ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้พรีเมียร์ลีกอังกฤษได้พลิกโฉมตัวเอง จากเดิมทีที่เป็นเพียงลีกฟุตบอลที่ได้รับความนิยมสู่แบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่าทางการตลาดมหาศาล ซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้น เมื่อนักลงทุนจากต่างชาติเริ่มเข้ามาซื้อกิจการสโมสรในลีกสูงสุดของอังกฤษอย่างต่อเนื่อง 

เริ่มจาก โรมัน อบราโมวิช ที่เข้ามาซื้อ เชลซี ในปี 2003 ตามมาด้วยการเข้ามาของตระกูลเกลเซอร์ กับการซื้อหุ้นสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และการเข้ามาที่สร้างอิมแพ็คชัดเจนที่สุดคือ การเข้ามาของ ชีค มันซูร์ กับการเทคโอเวอร์สโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆอย่างตามมา โดยเฉพาะในแง่ของการเข้ามาของเงินทุนมหาศาลทำให้สโมสรจากพรีเมียร์ลีก มีกำลังซื้อนักเตะชั้นนำของโลกเข้ามามากขึ้น เห็นได้จากสถิติการใช้เงินในตลาดซื้อขายนักเตะที่พุ่งสูงขึ้นทุกปี

การเข้ามาของเงินทุนมหาศาล นำไปสู่การเข้ามาของนักเตะชั้นนำ จนไปสู่ลีกการแข่งขันที่มีลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดมูลค่ามหาศาล โดยข้อตกลงสิทธิ์การถ่ายทอดสดของพรีเมียร์ลีก กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ผลักดันมูลค่าทางการตลาดให้พุ่งสูงขึ้น จากข้อตกลงล่าสุด ปี 2022-2025 มีมูลค่ารวมกว่า 10,000 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นสัญญาการถ่ายทอดกีฬาที่มีมูลค่าสูงสุดในโลก

โดยเงินจำนวนมหาศาลนี้ ถูกแบ่งปันให้กับสโมสรต่างๆ ทำให้แม้แต่ทีมที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมา ยังมีกำลังทรัพย์ในการลงทุนซื้อนักเตะที่มากกว่าหลายทีมใหญ่ในลีกอื่นๆของยุโรป ยกระดับ Class พรีเมียร์ลีก สู่ลีกที่มีมูลค่าการตลาดหมื่นล้าน.. จนนำไปสู่นวัตกรรมทางการตลาด และการสร้าง Content ที่ไร้ขีดจำกัด

พรีเมียร์ลีกไม่ได้หยุดอยู่แค่การพัฒนาคุณภาพเกมในสนาม แต่ยังมุ่งเน้นการสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์แฟนบอลทั่วโลก ผ่านช่องทางดิจิทัลที่หลากหลาย พร้อมขยายฐานแฟนบอลทั่วโลก พรีเมียร์ลีกได้พัฒนากลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการขยายฐานแฟนบอลในภูมิภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย, อเมริกาเหนือ, แอฟริกา และตะวันออกกลาง ผ่านการจัดทัวร์ปรีซีซั่น การสร้างอะคาเดมี และการสร้างคอนเทนต์ ที่ตอบโจทย์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น

ความสำเร็จของพรีเมียร์ลีก ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในวงการกีฬาเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง จากการศึกษาพบว่า พรีเมียร์ลีกสร้างงานกว่า 1 แสนตำแหน่งในสหราชอาณาจักร และยังสร้างรายได้ภาษีให้รัฐบาลกว่า 3,300 ล้านปอนด์ต่อปี นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นในเมืองที่เป็นที่ตั้งของสโมสร ผ่านการท่องเที่ยวและการจับจ่ายของแฟนบอล ..

เท่านั้นยังไม่พอ พรีเมียร์ลีก ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าง Soft Power ให้กับประเทศอังกฤษ โดยช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และวัฒนธรรมของประเทศไปทั่วโลก รวมถึงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในภาคส่วนอื่นๆ ด้วย

 

จากจุดเริ่มต้นของการย้ายทีมมูลค่า 100 ล้านยูโรคนแรกของ แกเร็ธ เบล สู่การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของพรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของวงการฟุตบอลที่ไม่ได้เป็นเพียงกีฬาอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เป็นอุตสาหกรรมบันเทิงที่มีมูลค่ามหาศาล และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลก

ทั้งหมดนี้ คือ “จุดกำเนิดการย้ายทีม 100 ล้านยูโรคนแรก เปิดทางสู่มูลค่าการตลาดหมื่นล้าน ยกระดับ Class พรีเมียร์ลีกอย่างนุ่มลึก” ประสบการณ์สุดนุ่มลึกในแบบของ GUINNESS BEAUTIFUL GAME SOCIETY ที่อยากให้ทุกคนลองสัมผัส

Author

ณัฐวุฒิ บุญโท

Ever Tried Ever Failed Try Again Failed Better.

Graphic

ปริญญา คงปันนา

กราฟฟิคหน้าโหด ทำงานด้วย Passion ว่างๆ ชอบไปคาเฟ่ หลงไหลในศิลปะ, การเดินทางและกีฬา