Feature

Beautiful Game : "The Arsenal Invincibles" ยุคไร้พ่าย เปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการในทีมอาร์เซนอล ก่อนส่งต่อวัฒนธรรมไปสู่ทีมอื่นๆ อย่างนุ่มลึก

 

หากให้นึกถึงผู้จัดการทีมที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกฟุตบอลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชื่อของ อาร์แซน เวนเกอร์ อดีตกุนซืออาร์เซน่อล ระหว่างปี 1996 ถึงปี 2018 จะต้องอยู่ในลิสต์ลำดับต้น ๆ อย่างแน่นอน ด้วยการนั่งบัญชาทัพ "ปืนใหญ่" ยาวนานกว่า 22 ปี และมีผลงานชิ้นโบว์แดงคือการพา อาร์เซน่อล คว้าแชมป์ลีกแบบไร้พ่ายเมื่อซีซัน 2003-2004

แต่หลายท่านอาจยังตระหนักไม่ได้ว่าการเข้ามาของ อาร์แซน เวนเกอร์ ที่ อาร์เซน่อล นั้นมีความหมายต่อโลกลูกหนังมากกว่าที่คิด เนื่องจากทุกวันนี้หลายสโมสรชื่อดังทั่วโลกนำแนวทางการทำทีมของอดีตกุนซือชาวฝรั่งเศส มาปรับใช้กับทีมของตนเอง

อาร์แซน เวนเกอร์ ใช้วิธีการใดถึงทำให้ อาร์เซน่อล เป็นทีมไร้พ่ายเมื่อฤดูกาล 2003-04 รวมถึงเป็นต้นแบบการบริหารจัดการในปัจจุบัน… เช่นเดียวกับการสร้างตำนานทีมไร้พ่ายของเวนเกอร์ที่ต้องใช้เวลา ความพยายาม และความพิถีพิถันในทุกรายละเอียด GUINNESS ก็มีปรัชญาในการสร้างสรรค์รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เร่งรีบและใส่ใจในทุกขั้นตอน จึงไม่แปลกที่ GUINNESS ในฐานะผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของ Premier League อยากชวนทุกคนมาลองสัมผัสประสบการณ์สุดนุ่มลึก ในแบบ GUINNESS BEAUTIFUL GAME SOCIETY ติดตามพร้อมกันที่ Main Stand

เส้นทางสู่ความยิ่งใหญ่ของทีมอาร์เซน่อลภายใต้การนำของอาร์แซน เวนเกอร์ สะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาที่คล้ายคลึงกับการสร้างสรรค์ โดยใช้เวลาบ่มเพาะความเป็นเลิศอย่างพิถีพิถัน ไม่เร่งรีบ จนได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากวิสัยทัศน์ ความอดทน และความใส่ใจในทุกรายละเอียด

ด้วยความเข้าใจในแก่นแท้ของความงดงามที่ต้องอาศัยเวลา GUINNESS ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของพรีเมียร์ลีก ขอเชิญชวนคุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฟุตบอลสุดคลาสสิคในแบบฉบับ GUINNESS BEAUTIFUL GAME SOCIETY เพื่อสัมผัสประสบการณ์อันนุ่มลึกที่ไม่เหมือนใคร เฉกเช่นเดียวกับความพิเศษของทีมไร้พ่ายของ เวนเกอร์ ที่จารึกในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกอย่างไม่มีวันลืม

ย้อนกลับไปในเดือนสิงหาคม ปี 1996 อาร์เซน่อล มีข่าวที่จะดึงตัว โยฮัน ครัฟฟ์ อดีตผู้เล่นและผู้จัดการทีมของบาร์เซโลน่า มาสืบทอดตำแหน่ง แต่จนแล้วจนรอดดีลดังกล่าวกลับไม่เกิดขึ้น ซึ่งทางสโมสรก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเปลี่ยนเป้าไปที่ อาร์แซน เวนเกอร์ ที่คุมทีมนาโกย่า แกรมปัส เอต ในแดนปลาดิบอยู่ขณะนั้น กระทั่งเดือนถัดมา อาร์เซน่อล สามารถเจรจาจนนำตัวกุนซือชาวฝรั่งเศส มาที่เมืองลอนดอนได้สำเร็จ 

โดย อาร์แซน เวนเกอร์ กล่าวในงานแถลงข่าวครั้งแรกของเขากับ อาร์เซน่อล ว่า 

"เหตุผลหลักในการมาของผมก็คือผมรักฟุตบอลอังกฤษ รากฐานของกีฬานี้อยู่ที่นี่ ผมชอบจิตวิญญาณ บรรยากาศที่อยู่รอบ ๆ เกม สำหรับกับ อาร์เซน่อล ผมชอบจิตวิญญาณของสโมสรและศักยภาพของทีม" 

แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวต้องยอมรับว่านักฟุตบอลลีกอังกฤษบางคนยังไม่ค่อยจริงจังกับอาชีพของตัวเองมากนัก ซึ่งหลังจากที่ อาร์แซน เวนเกอร์ เข้ามาดำรงตำแหน่ง เขาก็เปลี่ยนแปลงหลายอย่างภายในสโมสร 

โดยเริ่มตั้งแต่วิธีการฝึกซ้อมที่ผู้จัดการทีมชาวฝรั่งเศส ลบแนวทางไม่ใส่ใจการวอร์มอัพ อบอุ่นร่างกาย รวมถึงการฝึกซ้อมที่ยาวนานแถมเน้นความแข็งแกร่งทางร่างกายออกไป และแทนที่ด้วย วิทยาศาสตร์การกีฬา วิธีการยืดเส้นยืดสายแบบใหม่ นาฬิกาจับเวลาทุกเซสชัน และการฝึกซ้อมทักษะการส่งบอลมากขึ้น 

นอกจากนี้ อาร์แซน เวนเกอร์ ยังนำนักกายภาพบำบัดและนักฝังเข็มเข้ามาที่สโมสร ก่อนจะช่วยออกแบบศูนย์ฝึกของ อาร์เซน่อล ใหม่ทั้งหมดพร้อมเอาอุปกรณ์ฟิตเนสที่ทันสมัยที่สุดให้นักเตะใช้งาน

ต่อมา อาร์แซน เวนเกอร์ จัดการเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารของผู้เล่น สั่งห้ามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ช็อกโกแลต, แฮมเบอร์เกอร์ ของหวาน รวมถึงมันฝรั่งทอด ด้วยประสบการณ์ที่เขาซึมซับมาจากสมัยคุมนาโกย่า แกรมปัส เอต ซึ่งถูกเปลี่ยนให้เป็นเมนูปลา, ไก่, มันฝรั่งบด, บร็อคโคลี่ และผักนึ่ง

โดย เวนเกอร์ กล่าวว่า "ผมคิดว่าในอังกฤษ คุณกินน้ำตาลและเนื้อสัตว์มากเกินไป และกินผักไม่เพียงพอ" ขณะที่นักเตะหลายคนบอกว่าวิธีนี้ช่วยยืดอายุการเล่นฟุตบอลของพวกเขา

ส่วนเรื่องสไตล์การเล่นของทีม อาร์แซน เวนเกอร์ ปิดปากพวกที่มักชอบด่าว่า อาร์เซน่อล นั้นเล่นน่าเบื่อ เนื่องจากเขาทำลายแนวทางการเล่นเน้นเกมรับตั้งแต่สมัยยุค จอร์จ เกรแฮม ในช่วงทศวรรษ 1990 ให้หายไป ก่อนจะค่อย ๆ เปลี่ยนให้ อาร์เซน่อล เป็นทีมที่เล่นเกมรุกแบบรวดเร็วมากขึ้น 

จนกระทั่งในพรีเมียร์ ลีก ฤดูกาล 2003-2004 อาร์แซน เวนเกอร์ ทำให้โลกฟุตบอลสั่นสะเทือนด้วยการพา อาร์เซน่อล คว้าแชมป์แบบไร้พ่าย หรือที่เรียกว่า "The Arsenal Invincibles"

ตามหลักทฤษฎี "The Four I's"

อันเดรียส ยองเคอร์ หัวหน้าอะคาเดมีของอาร์เซ่อล ตอนนั้น เล่าว่า อาร์แซน เวนเกอร์ เป็นบุคคลที่เข้าถึงง่าย แต่ต้องไม่มีการกระทำลับหลังหรือความลับที่ปิดบังเขาอยู่ ซึ่งมันราวกับว่าก่อนที่ใครคนใดในสโมสรจะตัดสินใจเรื่องใดก็ตาม จะต้องได้รับการอนุมัติจาก เวนเกอร์ ก่อน

ด้วยความเป็นผู้นำที่สร้างการเปลี่ยนแปลงมหาศาลให้กับ อาร์เซน่อล จึงมีงานวิจัยการทำงานของ อาร์แซน เวนเกอร์ หลายฉบับออกมา ซึ่งหนึ่งในงานที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ YOUAREMYARSENAL เมื่อปี 2014 โดย ไมเคิล ไพรซ์ 

มีการตีความจนได้ออกมาเป็นตามฤษฎีสี่มิติของความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ("The Four I's") หรือ Transformational Leadership ที่ประกอบด้วย 

 

  • Idealised Influence (II) เสน่ห์ที่ดึงดูดผู้ติดตามในระดับอารมณ์ คือผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำที่มีอิทธิพลในอุดมคติสามารถไว้วางใจและเคารพเพื่อนร่วมงานในการตัดสินใจที่ดีเพื่อองค์กร

 

ก่อนและหลังชัยชนะเอฟเอ คัพ ในเดือนพฤษภาคม 2005 นักเตะชุดนั้นต่างพูดคุยกันถึงความต้องการที่จะคว้าถ้วยรางวัลนี้ให้ อาร์แซน เวนเกอร์ แม้แต่อดีตนักเตะหลายคนต่างก็ออกมาสนับสนุนอย่างสุดหัวใจ นี่เป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เวนเกอร์ ได้สร้างความดึงดูดใจให้กับบรรดาคนที่ทำงานให้กับเขา

 

  • Intellectual Stimulation (IS) แรงจูงใจที่สร้างแรงบันดาลใจซึ่งแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและน่าดึงดูด อธิบายถึงผู้นำที่จูงใจเพื่อนร่วมงานให้มุ่งมั่นกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ผู้นำที่มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมจิตวิญญาณของทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตสำหรับองค์กร

 

วิสัยทัศน์ของฟุตบอลของ อาร์แซน เวนเกอร์ เน้นเกมรุกนั้นดึงดูดใจผู้คนทั้งภายในและภายนอกสโมสร และ เวนเกอร์ ยังแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนว่าแนวทางนี้จะประสบความสำเร็จในระยะยาว ซึ่งถือเป็นอีกแง่มุมหนึ่งของแรงบันดาลใจ

 

  • Inspirational Motivation (IM) การกระตุ้นทางปัญญาที่ท้าทายสมมติฐาน ยอมรับความเสี่ยง และขอความคิดเห็นจากผู้ติดตาม กล่าวถึงผู้นำที่สนับสนุนนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ผ่านการท้าทายความเชื่อหรือมุมมองปกติของกลุ่ม ผู้นำที่มีการกระตุ้นทางปัญญาส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาเพื่อพยายามทำให้องค์กรดีขึ้น

 

การกระตุ้นทางสติปัญญา อาร์แซน เวนเกอร์ ท้าทายสมมติฐานและกล้าเสี่ยง เขาให้อิสระแก่ผู้เล่นในสนามอย่างมาก 

 

  • Individualised Consideration (IC) การพิจารณาเป็นรายบุคคลที่ส่งผลให้เกิดการให้คำปรึกษาและความสนใจต่อความต้องการของผู้ติดตาม คือผู้นำที่ทำหน้าที่เป็นโค้ชและที่ปรึกษาให้กับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำที่ใช้การพิจารณาเป็นรายบุคคลสนับสนุนให้เพื่อนร่วมงานบรรลุเป้าหมาย และช่วยเหลือทั้งเพื่อนร่วมงานรวมถึงองค์กร

 

ตัวอย่างเช่น อาร์แซน เวนเกอร์ ตอบสนองความปรารถนาของนักเตะที่จะออกจากอาร์เซนอลเพื่อไปเล่นที่อื่นมากขึ้น

จากไปอย่างยิ่งใหญ่แถมทิ้งมรดกไว้

เมื่อตอนที่ อาร์แซน เวนเกอร์ เข้ามานั่งเก้าอี้กุนซืออาร์เซน่อล เขากับ รุด กุลลิต โค้ชและผู้เล่นของ เชลซี ตอนนั้นเป็นผู้จัดการทีมต่างชาติเพียงสองคนในพรีเมียร์ ลีก อังกฤษ แต่ด้วยความสำเร็จที่ทั้งคู่สร้างไว้โดยเฉพาะ เวนเกอร์ ที่สถาปนาตนเองให้เป็นผู้จัดการทีมต่างชาติคนแรกที่คว้าแชมป์ลีกอังกฤษในปี 1998 

ส่งผลให้นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมามีกุนซือต่างชาติชื่อดังมากหน้าหลายตา ยกตัวอย่างเช่น โชเซ่ มูรินโญ่, คาร์โล อันเชล็อตติ, โรแบร์โต้ มันชินี, มานูเอล เปเยกรินี และ คลาวดิโอ รานิเอรี เข้ามาคุมทีมสโมสรแดนผู้ดีแบบไม่ขาดสาย จนทุกวันนี้มีสัดส่วนเยอะกว่าโค้ชเลือดอังกฤษแท้ ๆ แล้ว 

และ อาร์แซน เวนเกอร์ ก็เป็นคนที่ทำให้เห็นว่าการกล้าเสี่ยงทุ่มเงินซื้อผู้เล่นอายุน้อยเข้าสู่ทีมนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอย่างที่คิดหากมีการวิเคราะห์และวางแผนที่ดี 

ซึ่งกรณีที่เห็นได้ชัดคือการจ่ายเงิน 3.5 ล้านปอนด์ เพื่อเอาตัว ปาทริค วิเอร่า ร่างดาวรุ่งจาก เอซี มิลาน มาร่วมทีม (ปาทริค วิเอร่า เข้าร่วมกับ อาร์เซนอล ก่อนที่ เวนเกอร์ จะรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการแต่หลายคนบอกว่า เวนเกอร์ นี่แหละ ที่เป็นคนโน้มน้าวให้ ปาทริค วิเอร่า มา อาร์เซน่อล) 

ต่อมาก็มี นิโกลาส์ อเนลก้า วัย 17 ปี และ เธียร์รี อองรี วัย 22 ปี และยังมี เซสก์ ฟาเบรกาส, ธีโอ วอลค็อตต์, เฮคเตอร์ เบเยริน และ อเล็กซ์ อ็อกซ์เลด-แชมเบอร์เลน ด้วย

และที่สำคัญตลอดการทำงาน 22 ปี ของ อาร์แซน เวนเกอร์ กับ อาร์เซน่อล เขาพาทีมคว้าแชมป์พรีเมียร์ ลีก สามครั้ง, เอฟเอ คัพ เจ็ดสมัย และได้แชมป์คอมมูนิตี้ ชิลด์ อีกเจ็ดสมัย ซ้ำยังพลาดการจบฤดูกาลในอันดับท็อป 4 ของตารางเพียงสองครั้ง โดยผลงานอันดับที่ต่ำที่สุดของ อาร์เซน่อล ภายใต้ อาร์แซน เวนเกอร์ คืออันดับที่ 6 (ฤดูกาล 2017-18)

ซึ่งถ้าให้ว่ากันตามตรงปัจจุบันหลายสโมสรทั่วโลกได้นำแนวทางที่ อาร์แซน เวนเกอร์ เคยใช้เมื่อราว 30 ปีที่แล้ว นำมาปรับให้เข้ากับสถานการณ์รวมถึงสโมสรของตนเอง ไม่ว่าจะทั้งเรื่องโภชนาการ, การซื้อ-ขายนักเตะ และการดึงดาวรุ่งฝีเท้าดีเข้าสู่ทีม 

ตัวอย่างสโมสรที่นำแนวทางของ อาร์แซน เวนเกอร์ มาปรับใช้ในเวลาต่อมา เช่น เลสเตอร์ ซิตี้ ที่ยอมลงทุนกว่า 100 ล้านปอนด์ เพื่อสร้างศูนย์ฝึกซ้อมครบวงจร ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2019 ซึ่งถือเป็นสนามฝึกซ้อมระดับโลก บนพื้นที่ 455 ไร่ พร้อมยกเอาอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานมาให้นักเตะใช้ 

ส่วนในเรื่องการฝึกซ้อม เป๊ป กวาร์ดิโอล่า นายใหญ่ของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เคยเปิดเผยว่าตัวเขาใช้หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วย แถมยังนำเจ้าหน้าที่เฉพาะทางด้านต่าง ๆ มาสู่สโมสร อาทิ  โค้ชฟิตเนส, นักโภชนาการ ฯลฯ

ขณะที่ ไบรท์ตัน, เซาธ์แฮมป์ตัน รวมถึง ลิเวอร์พูล นั้นนำแนวทางปั้นดาวรุ่งของ อาร์แซน เวนเกอร์ มาใช้ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เทรนท์ อเล็กซานเดอร์ อาร์โนลด์ ของ “หงส์แดง” ที่เติบโตมาจากระบบอะคาเดมีของ ลิเวอร์พูล จนทุกวันนี้กลายมาเป็นตัวหลัก และมีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 70-80 ล้านยูโร 

คงไม่เกินจริงหากจะเปรียบว่าการทำทีมของอาร์แซน เวนเกอร์ ตลอด 22 ปี 

กับอาร์เซน่อลนั้นเป็นเหมือนการบ่มเพาะรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของ GUINNESS ทั้งคู่ค่อยๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงความสมบูรณ์แบบในแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ความยิ่งใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากวิสัยทัศน์ ความอดทน และการวางแผนที่ชาญฉลาด

ด้วยปรัชญาแห่งการสร้างสรรค์ที่คล้ายคลึงกันนี้ GUINNESS ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของพรีเมียร์ลีก ขอเชิญชวนคุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฟุตบอลสุดคลาสสิคในแบบฉบับ GUINNESS BEAUTIFUL GAME SOCIETY เพื่อสัมผัสประสบการณ์อันนุ่มลึกที่ไม่เหมือนใคร เฉกเช่นเดียวกับความพิเศษของทีมไร้พ่ายของเวนเกอร์ที่จารึกในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกอย่างไม่มีวันลืม

Author

รณกฤต ตุลยะปรีชา

วัยรุ่นคู้บอน

Graphic

ปริญญา คงปันนา

กราฟฟิคหน้าโหด ทำงานด้วย Passion ว่างๆ ชอบไปคาเฟ่ หลงไหลในศิลปะ, การเดินทางและกีฬา