เกมกีฬายอดฮิตของคนโบราณ สกา กีฬาระดับเทวดา และ กษัตริย์ จากวรรณคดีเรื่อง กากี ที่ต้องอาศัยสติปัญญา และ ความสุขุมนุ่มลึกอย่างมาก การเล่นโบราณนี้ที่แสดงถึงภูมิปัญญาไทย วิธีการเล่นที่อ่านจากคู่มืออาจดูซับซ้อน ต้องลงมือเล่นจริงจังจะเข้าใจ
ธานิน นัยนภาเลิศ คณะกรรมการสมาคมกีฬา กีฬาไทยแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงกีฬาเชิงอนุรักษ์ ชนิดนี้ว่า “ สกา เป็นเกมกระดานไว้ตรงกลาง มีผู้เล่น 2 คน เหมือนกับ หมากรุก แต่มีอุปกรณ์ในการเล่นที่เยอะกว่า อย่าง ตัวสกามีทั้งหมด ฝ่ายละ 15 ตัว , ลูกเต๋า หรือ ”ลูกบาศก์” 2 ลูก , กระบอกทอด เครืองมือเพื่อความโปร่งใส่ในการทอดลูกเต๋า ,โก้งโค้ง ที่รองรับลูกเต๋า โดยวิธีการเล่นทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันทอดลูกเต๋าแล้วเดินตามแต้มที่ทอดไว้ ใครเดินจนเข้าบ้าน และ กินตัวหมดก็จะเป็นฝ่ายชนะ “
สกา เป็นกีฬาที่ใช้เวลานาน และ มีบรรยากาศสงบ ไม่เฮฮากระโดดโลดเต้น เหมาะกับคนใจเย็น และ ชอบใช้ความคิดเป็นระบบแบบแผน ฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า นอกใจากให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ต่างจาก หมากรุก หรือ หมากฮอส ที่เป็นการวางแผนล่วงหน้า รู้ว่าต้องชนะอย่างไร แต่การเล่นสกาจะขึ้นอยู่กับการทอดลูกเต๋า มือของเราแต่ละครั้งทอดออกมาไม่เหมือนกัน เพราะการทอดลูกเต๋ามีความไม่แน่นอนเหมือนชีวิตคนเรา ซึ่งไม่รู้เลยว่าแต้มจะออกมาเป็นอย่างไร ดี หรือ เลว ทุกคนที่เล่นมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะ เด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย ผู้สูงอายุ ทุกคนสามารถเป็นแชมป์ได้ และก็ร่วงได้ เหมือนชะตาชีวิตคนเราที่ไม่แน่นอน
ในปัจจุบันจะพบเห็นการเล่นสกาไม่มากนัก จากเมื่อก่อนมีเพียงเฉพาะกลุ่ม อย่างที่วัดชลอ และ ตามรัฐวิสาหกิจ หรือ ตามเทศกาล ที่ยังมีการจัดแข่งขัน โดยสาเหตุจากที่น้อยลงเพราะ ในการเล่นต้องใช้ลูกเต๋า ซึ่งนักกฎหมายมาตีความว่าเป็นสิ่งที่ผิด เป็นหนึ่งในการพนันเสี่ยงโชค จึงไม่มีคนสนับสนุน ทำให้คนเล่นน้อยลง อุปกรณ์ในการเล่นผลิตออกมาน้อย ต้องหาสิ่งอื่นมาแทนอย่างตัวสกา ต้องนำหมากรุกจีนมาทาสี และ กระบอกทอด ต้องเปลี่ยนเป็นใช้มือแทน
สมาคมกีฬา กีฬาไทยแห่งประเทศไทย จึงพยายามผลักดันสกา ให้ดูเป็นกีฬามากกว่าการพนันเพื่ออนุรักษ์ไว้ ถ้าเราไม่แก้ไขตรงนี้ สกามีโอกาสที่จะสูญหายไปจากประเทศไทยตามกาลเวลา สำหรับผู้ใดที่สนใจในวิธีการเล่นสกา และ หมากรุก สามารถเข้าไปสอบถามข้อมูลได้ช่องทางเฟซบุ๊ก ThaiChess-TV หมากรุกไทยทีวี หากเราดูสกาได้สนุก ก็จะประจักษ์ว่า ไม่ต้องเป็นเทวดาก็เล่นได้เหมือนกัน