News

หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ รักชีวิต ต้องรู้วิธีป้องกัน!

หัวใจ อวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ ส่วนภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เป็นภาวะที่หัวใจเต้นเร็ว ช้า หรือไม่สม่ำเสมออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งภาวะนี้ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

 

และเพื่อการดูแลสุขภาพหัวใจให้ห่างไกลจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างถูกวิธี ในบทความนี้ เราจะมาแบ่งปันข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับภาวะนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาการ ประเภทของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายจากโรคนี้ วิธีรักษา รวมถึงการป้องกันอย่างถูกวิธี หากพร้อมแล้ว มาศึกษาเรื่องน่ารู้และนำไปประยุกต์ใช้ดูแลสุขภาพหัวใจในชีวิตประจำวันกันได้เลย

สัญญาณเตือน! มีอาการนี้ เสี่ยงหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

สำหรับอาการเบื้องต้นของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะก็มีอยู่หลากหลาย โดยสามารถสังเกตตัวเองได้ง่าย ๆ จากอาการเหล่านี้

  • หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ทำให้รู้สึกใจสั่น

  • อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย

  • หน้ามืด เป็นลม หรือหมดสติ

  • ความดันโลหิตต่ำ

  • รู้สึกเจ็บหน้าอก เหนื่อยมาก อาจมีภาวะหัวใจวายและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

 

ประเภทของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ควรรู้

ในทางการแพทย์ แบ่งประเภทของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นเร็ว และหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยแต่ละประเภท มีรายละเอียดแตกต่างกันไป ดังนี้

  • Bradycardia (ภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ)

ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด และหมดสติ มีสาเหตุจากโรคหัวใจ การใช้ยาบางชนิด และปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

  • Tachycardia (ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ)

หากมีภาวะนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น อ่อนเพลีย และหน้ามืด โดยสาเหตุหลักมาจากโรคหัวใจ ความวิตกกังวล และการได้รับคาเฟอีนเกิดขนาด

  • Arrhythmia (ภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ)

ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหัวใจ การใช้ยาบางชนิด และความผิดปกติของค่าอิเล็กโทรไลต์ โดยผู้ป่วยมักมีอาการใจสั่น รู้สึกอ่อนเพลีย และหน้ามืด

วิธีรักษาภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

แม้โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะฟังดูไม่น่ากลัวเท่าโรคหัวใจประเภทอื่น ๆ แต่ก็เป็นอันตรายต่อร่างกายไม่แพ้กัน เพราะก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของหัวใจวายและทำให้เสียชีวิตได้ โดยการรักษาในปัจจุบัน มี 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้

  • การใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์

  • การใช้คลื่นไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจ

  • การผ่าตัด

การป้องกันโรคหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะอย่างถูกวิธี

สำหรับใครที่กังวลเกี่ยวกับโรคนี้ สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง โดยใช้วิธีเหล่านี้

  • ควบคุมความดันโลหิต

  • ควบคุมอาหารเพื่อให้ระดับคอเลสเตอรอลและน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

  • งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • ตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี

อย่ารอจนโรคร้ายมาเยือน เริ่มต้นดูแลสุขภาพหัวใจของคุณตั้งแต่วันนี้ ห่างไกลภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะและโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

Author

Mainstand

Graphic

วิสุทธา วงค์หน่อแก้ว

หนุ่มน้อยผู้คลั่งรัก "ปีศาจแดง" แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สุดหัวใจ