News

สรุป 6 ข้อ ลิขสิทธิ์ยิงสดไทยลีก AIS & TRUE เตรียมออกแพ็คเกจให้แฟนบอลซื้อและเงินตรงสู่สโมสร

การหาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยลีก 2023/24 เป็นหน้าที่ของ 16 สโมสร หลังจากที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ไฟเขียวให้สโมสรบริหารจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกันเอง

 

 

ทั้ง 16 ทีม ประชุมร่วมกันที่โรงแรมพูลแมน เมื่อวันที่ 18 ก.ค.66 โดยมี กรวีร์ ปริศนานันทกุล รักษาการ บ.ไทยลีก ร่วมประชุมด้วย

การประชุมที่ใช้เวลานานกว่า 2 ชม. ก่อนได้ข้อสรุป ดังนี้

1.บ.ไทยลีก จะจัดโปรแกรมการแข่งขันโดยกำหนดวันและเวลาที่ชัดเจน แบ่งออกเป็นวันศุกร์, วันเสาร์, วันอาทิตย์ และวันจันทร์ เพื่อไม่ให้บิ๊กแมทช์ชนกัน (คาดว่าแล้วเสร็จสัปดาห์หน้า)

2.จากนั้นจะนำไปเสนอขายให้กับ #ฟรีทีวี และ Over-The-Top (OTT) ทุกเจ้าแบบไม่ exclusive คือ #ทรูฯ (ไม่แน่ชัดว่าเป็นทรูวิชันส์ หรือ ทรูไอดี) และ #เอไอเอสเพลย์ ซึ่งมี บ.แพลนบี จำกัด เป็นตัวแทนสมาคมฯ ในการไปขาย

3.Over-The-Top (OTT) จะต้องซื้อทุกคู่ 240 นัด จากนั้นจะออกแพ็คเกจเพื่อขายแฟนบอล (ราคาอยู่ที่ OTT กำหนด และแบ่งเปอร์เซนต์กับ บ.ไทยลีก ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์) เท่ากับว่าจะมีการถ่ายทอดสดให้แฟนบอลได้ชมทุกคู่แน่นอน

4.เมื่อจบฤดูกาลจะนำเงินที่ขายได้มากองรวมและแบ่ง 16 สโมสรเท่ากัน ซึ่งเงินที่ได้มาจากการขายให้ฟรีทีวีและ OTT

5.สโมสร 16 ทีมใช้ชื่อแคมเปญ #เซฟไทยลีก เชิญชวนแฟนบอลให้ซื้อแพ็คเกจกับ OTT เพราะเงินค่าแพ็คเกจจะตรงถึงสโมสร

6.บ.ไทยลีก จะเปลี่ยนระเบียบการจัดการแข่งขันเพื่อให้การแข่งขันมีความน่าสนใจ เช่น ชื่อด้านหลังเสื้อ อาจไม่ใช่ชื่อจริง เป็นต้น

สรุป ไม่มีการขายลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าใดเจ้าหนึ่งแบบแต่ก่อนแล้ว แต่สโมสรยังต้องพึ่งช่องทางของ OTT ในการออกอากาศ โดยที่ OTT ได้เงินส่วนแบ่ง (จากเดิมต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อลิขสิทธิ์)

ส่วนสโมสรจะได้เงินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแฟนบอลว่าจะซื้อแพ็คเพจที่ถูกลิขสิทธิ์เท่าไหร่ หากแฟนบอลซื้อในจำนวนรวมกันที่มากก็จะส่งผลต่อเงินสนับสนุนที่สโมสรจะได้รับ

Author

ธรรมวัตร เอกฉัตร

"เรื่องบอลไทยไว้ใจผม แต่ภรรยาผมกับไม่เคยไว้ใจผมเลย"

Graphic

วิสุทธา วงค์หน่อแก้ว

หนุ่มน้อยผู้คลั่งรัก "ปีศาจแดง" แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สุดหัวใจ