#สมพรออกไป ที่ติดเทรนด์ทวิตเตอร์บ้านเราในช่วง2-3วันก่อนหน้านั้น หลังจากที่ทีมวอลเลย์บอลสาวไทย ไร้ชัยชนะในศึก VNL2024 สนามแรกที่บราซิล
-แฟนวอลเลย์บอลไทย วิเคราะห์กันหนักหน่วง กดดันให้นายกสมพร ใช้บางยาง ผู้ที่นั่งตำแหน่งนายกส.วอลเลย์บอลไทยมาตั้งแต่ปี2554 และโค้ชยะ ณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค เฮดโค้ชคนปัจจุบันลาออกเพื่อรับผิดชอบ
-ส่วนหนึ่ง รับไม่ได้ที่ทีมไทย แพ้เกาหลีใต้ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราถือสถิติเหนือกว่า 9 ครั้งล่าสุดที่เจอกัน (ก่อนเจอกันในVNLครั้งนี้) ไทยชนะไป 6 และเราไม่แพ้สาวเกาหลีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2021
-ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ เลวร้ายถึงขั้นคอขาดบาดตายหรือไม่ ในมุมมองของแฟนกีฬา อาจจะมองว่าใช่ เพราะครั้งนี้มีตั๋วไปโอลิมปิกเกมส์ 2024 เป็นเดิมพัน
-นอกจากการกดดันให้นายกสมพรลาออก แฟนวอลเลย์บอลไทยส่วนใหญ่ เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้โค้ชต่างชาติ
-มีการนำไปเปรียบเทียบกับทีมชาย ที่สมาคมฯได้ประสานกับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ หรือ FIVB จนได้โค้ช พัค กีวอน มาช่วยกู้วิกฤต
Main Stand โทรคุยกับกฤษฎา นิลไสว ในฐานะนักกีฬาที่อยู่กับวงการวอลเลย์บอลไทยมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี2553 ประหนึ่งปู่โสมเฝ้าสมาคม เพื่อขอการวิเคราะห์จากมุมมองของนักกีฬาที่ผ่านร้อนผ่านหนาวทั้งในลีกและทีมชาติมาแล้ว ว่าคิดเห็นอย่างไร
#ประการแรกเรื่องการบริหาร กดดันให้ใครลาออกอาจไม่ใช่คำตอบ แค่ต้องเปิดใจรับฟังความคิด หรือ รับคนรุ่นใหม่ระดมความคิดกันบริหาร
-กฤษฎา มองว่า วอลเลย์บอลไทย ต้องรื้อระบบใหม่กันตั้งแต่รากฐาน การบริหารจัดการ แนวทางการทำให้วอลเลย์บอลลีกเป็นกีฬาอาชีพที่แข็งแกร่งและมีมาตรฐาน
-ทำไมญี่ปุ่นถึงมีนักกีฬาที่มีเบสิค,พื้นฐานที่ดีและมีนักกีฬาหน้าใหม่ๆก้าวขึ้นมาทดแทนและเติมเต็มกันได้ตลอด
-เพราะรากฐานเขาดี เริ่มตั้งแต่การใส่ใจบรรจุพื้นฐานของทุกศาสตร์กีฬา ไว้ในการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล
-ระบบลีกมั่นคง แนวทางชัดเจน มีทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่สนับสนุน (สังเกตได้จากชื่อหลายๆทีมจะมีชื่อสปอนเซอร์ใหญ่นำหน้า เช่น พานาโซนิค เป็นต้น) จนลีกแข็งแกร่ง แม้แต่สโมสรในดิวิชั่น 2 ก็ยังเงินเดือนสูงกว่านักวอลเลย์บอลไทยลีกหลายคนด้วยซ้ำ
-เราถามกฤษฎาว่า จริงไหม ที่ปัจจุบันยังมีนักวอลเลย์บอลไทยลีก เงินเดือน 8,000 บาท
-กฤษฎา โพล่งขึ้นมาเสียงดังลั่นว่าจริง นี่คือเรื่องจริงที่สะท้อนอะไรได้หลายอย่าง
-ถามว่าแล้วเกี่ยวกับทีมชาติตรงไหน
-เกี่ยวโดยตรง คิดภาพง่ายๆว่าหากประเทศไทยให้ความสำคัญกับกีฬาอาชีพเป็นบรรทัดฐานที่ได้มาตรฐานแบบเดียวกัน
-จะมีนักกีฬาที่มีทักษะ , เบสิคที่ดี และเติบโตขึ้นมาทดแทนกันในทีมชาติได้เรื่อยๆ
-เขาทิ้งประเด็นนี้ไว้แบบปลายเปิดว่า ให้ลองคิดดูว่าทำไม วอลเลย์บอลหญิงยังต้องใช้ผู้เล่นบางคนที่อยู่ในทีมชุดเดียวกับ 7 เซียน และ ผู้เล่นตัวหลักๆเป็นคนเดิมๆ
-ผู้เขียนตอบข้อนี้ได้เลยว่า เพราะลีกยังอ่อนแอมากๆ แย่กว่าฟุตบอลไทยลีกเสียด้วยซ้ำ
-ระบลีกแบบใดที่สโมสรไม่รู้วันเปิดลีกที่ชัดเจนสักฤดูกาล , ระบบการแข่งขันเปลี่ยนไปมาไม่ซ้ำกันสักฤดูกาล เช่นเดียวกับการมอบเงินสนับสนุน ที่ฤดูกาลที่ผ่านมา มอบให้หลังจบลีกทีเดียวเป็นก้อน
-แบบนี้ทีมเล็กๆก็ตายกันหมด บางทีมนักกีฬาต้องได้ควักเงินตัวเองช่วยเพื่อให้ทีมเดินหน้าต่อได้
-แล้วแบบนี้ใครจะอยากเป็นนักกีฬาอาชีพ? อาชีพแบบใด อาชีพกี่โมง ? (ขออภัยที่อินเกินไป ผู้เขียนไปชมเกมไทยลีกเกือบทุกนัดในฤดูกาลที่ผ่านมา และได้ยินปัญหามากมายจนท้อใจ)
-มาเข้าพาร์ทของกฤษฎากันต่อ
-เขายกตัวอย่างสถานการณ์ของทีมบางกอกกล๊าส ที่ตัวสตาร์ดังๆอย่าง ปลื้มจิตร ก็เคยสังกัดอยู่
-ทีมที่ใครๆก็ว่ารวย แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้กับระบบบริหารที่ไม่ชัดเจน จนต้องประกาศยุบทีมในปี 2561
-บีจีวีซี ให้เหตุว่า ด้วยเหตุผลด้านนโยบายที่ไม่ชัดเจนในการสนับสนุนเป็นกีฬาอาชีพ รวมไปถึงการแบกรับภาระเรื่องค่าจ้างนักกีฬาไม่ไหว
-รวมถึงโควตานักกีฬาทีมชาติในแต่ละปีเปลี่ยนแปลงตลอด กระทบถึงการพัฒนาระบบทีม
-เพราะในช่วงของการแข่งขันของลีก นักกีฬาถูกเรียกเก็บตัวอยู่กับสโมสรอาทิตย์หนึ่งไม่กี่วัน ด้วยความไม่แน่นอนของการบริหาร ระบบทีมก็รวน ไม่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
-ซึ่งนำมาสู่ความไม่สอดคล้องในการส่งเสริมวอลเลย์บอลเป็นธุรกิจกีฬาอาชีพ อย่างแท้จริง จึงเป็นที่มาของการประกาศยุติการทำทีมในที่สุด
#ประการสอง การใช้โค้ชต่างชาติ เป็นเพียงขาข้างขวา
-กฤษฎา เป็นหนึ่งคนที่เคยทำงานร่วมกับโค้ชไทย อย่างทั้งโค้ชยะ และ โค้ชต่างชาติ พัค กีวอน มาแล้ว
-เขาจึงมองว่าการใช้โค้ชต่างชาติเป็นเพียงส่วนหนึ่งไม่ใช่ทั้งหมด
-โค้ชพัคเป็นคนระเบียบวินัยสูง ทำให้การฝึกซ้อมเข้มงวดมาก และในเวลาแข่งขัน โค้ชพัคเป็นคนที่มีจิตวิทยาในการกระตุ้นลูกทีมดีมาก แต่ในเรื่องของการใส่แท็กติกการเล่นต่างๆ ไม่ได้ต่างจากโค้ชไทย
-เขามองว่าอีกส่วนที่สำคัญคือตัวนักกีฬาเอง ที่ต้องมีเบสิค , ทักษะที่ดี
-ซึ่งมันก็จะวนไปที่เรื่องการสนับสนุนและการบริหาร
-ถ้าเราเริ่มต้นดีแบบญี่ปุ่น เราก็แข็งแกร่งได้เร็ว
-แต่นักวอลเลย์บอลไทยหลายคน ไม่ได้เริ่มจากจุดนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้เข้าโรงเรียนที่สนับสนุนและปลุกปั้นด้านวอลเลย์บอลโดยเฉพาะ อย่างรร.บดินทรเดชา ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับการฝึกฝนในอคาเดมี่
-เมื่อพื้นฐานนักกีฬาเริ่มต้นมาไม่เท่ากัน มันก็ถือว่าเริ่มแบบไม่มั่นคงแล้ว
-พอได้เข้ามาเล่นในลีก ก็เจอกับระบบที่ไม่แน่นอน หลายคนถึงถอดใจ ไปประกอบสัมมาอาชีพอื่น
-กฤษฎา ย้ำอีกว่า เขาก็ตอบไม่ได้ว่า ถ้าทีมหญิงเปลี่ยนมาใช้โค้ชต่างชาติจะดีขึ้นไหม
-เพราะเรายังไม่เคยลอง
#เหนือสิ่งอื่นใด
-กฤษฎา ขอให้กำลังใจน้องๆในทีมสาวไทยมากกว่าการตำหนิ เพราะตัวเขาเองก็เป็นนักกีฬาเหมือนกัน ทุกคนเมื่อออกไปรับใช้ชาติก็อยากจะชนะ
-เขาไม่สามารถตอบได้ว่า สาวไทยจะกลับมาสู่ฟอร์มที่ดีได้หรือไม่ในสนามที่ 2
-เพราะคำว่ากีฬา และ การแข่งขัน มันขึ้นอยู่ปัจจัยหลายอย่างเหลือเกิน
-แต่ปัจจัยสำคัญคือรากฐาน ซึ่งเขาเองก็อยากจะให้แฟนๆวอลเลย์บอล ช่วยกันมองภาพใหญ่ตรงนี้ด้วย อาจจะเริ่มด้วยการสนับสนุนวอลเลย์บอลไทยลีก เข้าไปรับชมกันเยอะๆ
#นี่เป็นเพียงเสียงสะท้อนหนึ่ง จากนักกีฬาทีมชาติเท่านั้น กฤษฎาบอกว่า ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิด , แสดงความคิดเห็น เช่นเดียวกัน นี่เป็นเพียงมุมมองจากตัวเขาเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่เขาคิดจะถูกต้อง 100%
#สรุป จากมุมมองของกฤษฎา ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการให้ความสำคัญกับกีฬาอาชีพ ส่งผลกระทบถึงสมาคม > การบริหารของสมาคมที่ได้รับการสนับสนุนไม่เต็มที่ > ส่งผลกระทบถึงนักกีฬา > ลีก > ทีมชาติ > กระทบต่อความรู้สึกของคนไทย
#หรือเรื่องนี้ มันใหญ่เกินกว่าความพ่ายแพ้ 4 นัด มันใหญ่เกินกว่าสมพรออกไป มันเป็นแผลใหญ่ที่ลุกลามและกัดกินทุกวงการกีฬาบ้านเราไปแล้ว
แล้วแฟนๆวอลเลย์บอลไทย คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ ? กับการสนับสนุนกีฬาอาชีพในบ้านเรา คิดเห็นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร คอมเมนต์กันได้นะ