GUINNESS ในฐานะผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของ Premier League ขอนำเสนอเรื่องราวสุดพิเศษในการเข้ามาเพิ่มคลาสให้พรีเมียร์ลีกมีมิตินุ่มลึกมากขึ้นของแข้งดังระดับซูเปอร์สตาร์ ในช่วงยุค 90's เสมือนกับประสบการณ์การดื่มด่ำ GUINNESS ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแบบ GUINNESS BEAUTIFUL GAME SOCIETY
พรีเมียร์ลีก หนึ่งในลีกฟุตบอลที่ว่ากันว่า เป็นลีกที่มีมนต์ขลังที่สุดในโลก นอกจากการแข่งขันที่เข้มข้นในสนามแล้ว ยังมีเรื่องของมูลค่าการตลาดมหาศาล ที่เกิดจากความนิยมของเหล่าบรรดาทีมยักษ์ใหญ่ ที่มีฐานแฟนคลับนับล้านทั่วโลก แต่หนึ่งในปัจจัยที่ดึงดูดฐานแฟนบอลเหล่านั้นได้ ก็คือนักเตะระดับซูเปอร์สตาร์ ที่ย้ายเข้ามาค้าแข้งในลีกสูงสุดของอังกฤษ ช่วงยุค 90’s
เอริค คันโตน่า , อลัน เชียร์เรอร์ , ปีเตอร์ ชไมเคิล , เดนิส เบิร์กแคมป์ และ จานฟรังโก โซล่า นักเตะเหล่านี้ล้วนเป็นแข้งระดับแม่เหล็ก ที่ดึงดูดฐานแฟนคลับเข้าสู่ทีม ไม่เพียงแต่เฉพาะบนเกาะอังกฤษ แต่หมายถึงแฟนคลับจากทั่วทุกสารทิศที่ยอมซื้อตั๋วเดินทางไปเชียร์ถึงสนาม หรือกระทั่งยอมซื้อเสื้อของนักเตะที่ตนเองชื่นชอบ ถึงแม้จะอยู่อีกฟากโลกก็ตาม
การเสริมทีมในระดับแข้งบิ๊กเนม ทั้ง 5 คนที่เราหยิบยกมาแต่ละคนมีคาแรคเตอร์ค่อนข้างเด่นชัด นอกเหนือจากผลงานที่เข้ามาช่วยเพิ่มคลาสในสนามแล้ว แข้งดังเหล่านี้ยังมีนัยสำคัญอย่างนุ่มลึกในการสร้างจุดขายดึงดูดแฟนคลับได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
โดยเหล่า 5 แข้งตำนานที่ยิ่งใหญ่ที่ของพรีเมียร์ลีกในช่วงยุค 90’s นี้ เปรียบเสมือนผู้ซึ่งสร้างช่วงเวลาอันนาจดจำที่ผสมผสานทั้งความเป็นศิลปะและการแข่งขันเข้าไว้ด้วยกัน.. ติดตามต่อที่ Main Stand
"คิงก็องโต้" เอริค คันโตน่า ศิลปินลูกหนังและราชันย์แห่งปีศาจแดง
เมื่อเรานึกถึงพรีเมียร์ลีก สิ่งแรกที่เรานึกถึงเลย คือความมีระดับ ความบันเทิง ลูกยิงสวยๆ หรือแม้กระทั่งเดือดดาลในเกมบ้างเป็นครั้งคราว ซึ่งนักเตะที่สามารถสร้างอิมแพ็คได้ครบรสเช่นนั้น คงมีไม่กี่คนบนโลกใบนี้ และหนึ่งในนั้นต้องมีชื่อเอริค คันโตน่า หลายคนอาจมีภาพจำ จากเกมที่เขากระโดดกังฟูคิกใส่แฟนบอล แต่ลูกยิงวอลเลย์สุดสวยใส่ อาร์เซนอล และการชิพบอลอย่างเหนือชั้นใส่ ซันเดอร์แลนด์ ล้วนเป็นที่น่าจดจำพอๆกัน
ย้อนกลับไปในปี 1992 หลังการเริ่มต้นพรีเมียร์ลีก กับ ลีดส์ ยูไนเต็ด แข้งชาวฝรั่งเศสรายนี้ได้ย้ายไปอยู่กับทีมคู่ปรับตลอดกาล อย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จนกลายมาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกสูงสุดของเกาะอังกฤษ ถึง 4 สมัย ทั้งยังเป็นการคว้าแชมป์ในฐานะกัปตันทีมในฤดูกาล 1996/1997 ด้วย
ในยุคที่ฟุตบอลยังไม่เน้นความเข้มข้นของแท็คติคและสถิติมากนัก เจ้าของเสื้อเบอร์ 7 ของทีมปีศาจแดง กลับสร้างหลายๆ สิ่งให้เกิดขึ้นในช่วง 90 นาที ...รอบตัวของเอริค คันโตน่า มีแสง ออร่าบางอย่างอยู่เสมอในยามที่เขาก้าวเท้าลงสนาม
สิ่งเหล่าใช่ใครที่ไหนจะลอกเลียนแบบได้
เห็นชัดว่า มีนักเตะเพียงไม่กี่คนที่มีอิทธิพลต่อพรีเมียร์ลีกอย่างนุ่มลึกเหมือนกับ คันโตน่า จะเรียกได้ว่า เป็นซูเปอร์สตาร์ต่างชาติคนแรกของการแข่งขัน และนักเตะต่างชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เลยก็ว่าได้
ในสีเสื้อทีมปีศาจแดง คันโตน่า ได้รับการโหวตให้เป็นนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีโดย PFA ในฤดูกาล 1993/1994 นอกจากนั้นยังคว้ารางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีจาก FWA ในฤดูกาล 1995/1996 ได้อีกด้วย
โดยตลอดอาชีพการค้าแข้ง... คันโตน่า ลงเล่นทั้งหมด 156 เกม ยิงไป 70 ประตู จ่ายบอล 55 แอสซิสต์ คว้าแชมป์ลีก 4 ครั้ง ทั้งยังเคยคว้าอันดับ 3 กับการโหวตบัลลงดอร์ ปี 1993 มาแล้ว
“อลัน เชียเรอร์” ราชาแห่งสกอร์ ที่ไม่เคยมีใครเทียบเทียม
เมื่อพูดถึงชื่อของดาวยิงประตูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก ชื่อของ“อลัน เชียเรอร์” มักจะเป็นคำตอบแรกและคำตอบสุดท้ายที่ทุกคนยอมรับ ด้วยสถิติ 260 ประตู ที่ยังไม่มีใครสามารถทำลายได้ ทำให้เขากลายเป็นตำนานยืนหนึ่งในด้านการทำประตู นอกจากนี้ยังเป็นเพียงกองหน้าคนเดียวที่สามารถคว้ารางวัลดาวซัลโวพรีเมียร์ลีกได้ 3 สมัยติดต่อกัน ซึ่งเป็นสถิติที่ไม่มีใครทำได้อีกเลยจนถึงปัจจุบัน
กองหน้าตัวเก่งทีมชาติอังกฤษรายนี้ ทำประตูส่วนใหญ่จาก 260 ประตูให้กับ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ทีมที่เขาถูกทำให้กลายเป็นวีรบุรุษและได้รับการเทิดทูนเสมือนเทพเจ้า หลังจากที่เคยพา แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกในปี 1994/1995 ในฐานะหนึ่งในคู่หัวหอกคู่กับ คริส ซัตตัน ที่ได้รับการขนานนามว่า 'SAS' (Sutton And Shearer)
ไม่เพียงแต่การทำประตูได้มากมาย เชียเรอร์ ยังโดดเด่นด้วยความเป็นผู้นำในสนาม ความแข็งแกร่ง และความสามารถในการยิงลูกจุดโทษที่แทบจะไม่มีผิดพลาดเลย เขาได้รับเลือกเป็นนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของ PFA ในฤดูกาล 1994/1995 และฤดูกาล 1996/1997 ซึ่งเป็นการคอนเฟิร์มถึงอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของเขาที่มีต่อพรีเมียร์ลีกในยุคเริ่มต้น
หาก เชียเรอร์ เคยย้ายไปแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในช่วงเวลาที่ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน พยายามดึงตัวไปร่วมทีมอยู่หลายครั้ง เขาอาจมีความสำเร็จและมีอิทธิพลต่อทีมปีศาจแดง จนมากพอที่จะกลายเป็นนักเตะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของทศวรรษนั้น ก็เป็นได้ แต่การที่เขาเลือกกลับไปเล่นให้ทีมบ้านเกิดอย่าง นิวคาสเซิล ก็แสดงให้เห็นถึงความรักและความผูกพันที่เขามีต่อสโมสรแห่งนี้อย่างลึกซึ้ง
โดยสถิติอันน่าประทับใจของ อลัน เชียเรอร์ ลงเล่น 235 เกม ยิงได้ 167 ประตู ทำแอสซิสต์ได้ 44 ครั้ง และคว้าแชมป์ลีก 1 สมัย
ส่วนเกียรติยศส่วนตัว เคยคว้านักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีพรีเมียร์ลีก, คว้าอันดับ 3 รางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของ FIFA คว้าอันดับ 3 ของรางวัลบัลลงดอร์ ปี 1996 คว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปี FWA คว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปี PFA 2 สมัย รวมถึงยังเป็นดาวซัลโวพรีเมียร์ลีก อีก 3 สมัย และติดทีมยอดเยี่ยมแห่งปี PFA 5 ครั้ง
“ปีเตอร์ ชไมเคิล” ยักษ์เดน-ผู้ครองตำนานผู้รักษาประตูของทีมปีศาจแดง
"ดีลแห่งศตวรรษ" หนึ่งในวลีที่กลายเป็นคำพูดอันโด่งดังของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ที่ใช้อธิบายถึงการดึงตัว ปีเตอร์ ชไมเคิล เข้าสู่ทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จากบรอนด์บี้ ในราคาเพียง 505,000 ปอนด์ ในปี 1991 และนี่คือหนึ่งในการตัดสินใจที่ชาญฉลาดที่สุดของกุนซือชาวสก็อต เนื่องจาก ชไมเคิล ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาไม่เพียงแต่เป็นผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดในยุคของเขา แต่อาจเป็นผู้รักษาประตูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก เลยก็ว่าได้
ผู้รักษาประตูชาวเดนมาร์กร่างยักษ์เป็นผู้นำในการเก็บคลีนชีตในฤดูกาล 1994/1995, 1995/1996 และ 1997/1998 เป็นส่วนสำคัญในการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกถึง 5 สมัย ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ด้วยรูปร่างที่สูงใหญ่ ประกอบกับความคล่องตัวอันเหลือเชื่อ ทำให้เขากลายเป็นผู้รักษาประตูที่ครบเครื่องที่สุดในยุคนั้น
ชไมเคิล ไม่เพียงแต่เก่งในการป้องกันประตู แต่ยังเป็นผู้นำที่ทรงอำนาจในแนวรับ ที่มีนักเตะระดับตำนานอย่าง สตีฟ บรูซ, แกรี่ พัลลิสเตอร์ และยาป สตัม ร่วมทีม การสื่อสารที่ชัดเจนและความเป็นผู้นำของเขาทำให้แนวรับของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แข็งแกร่งจนยากที่จะทะลุทะลวงในช่วงเวลาดังกล่าว
นอกจากความสามารถในการเซฟที่ยอดเยี่ยมแล้ว ชไมเคิล ยังมีแขนที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถเริ่มการโต้กลับได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการส่งบอลระยะไกลที่แม่นยำ คล้ายกับที่เราเห็น เอแดร์สัน ทำในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งที่ทำให้เขาแตกต่างจากผู้รักษาประตูคนอื่นๆ ในยุคนั้น หากเกมใดที่ทีมปีศาจแดงขาดเขาในตำแหน่งผู้รักษาประตู ก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันชิงแชมป์ที่เข้มข้นดุเดือดในหลายฤดูกาล
ด้านสถิติอันน่าทึ่งของ ปีเตอร์ ชไมเคิล ลงเล่นไปทั้งหมด 252 เกม เก็บคลีนชีตได้ 113 ครั้ง เสียประตู 212 ลูก และคว้าแชมป์ลีก 5 สมัย
ส่วนเกียรติยศส่วนตัว เคยคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1995/1996 ติดทีมยอดเยี่ยมแห่งปี PFA ปี 1992/1993 คว้ารางวัลผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมแห่งปี UEFA 3 สมัย รวมถึงการเก็บคลีนชีตมากสุดที่ 3 สมัย
“เดนนิส เบิร์กแคมป์” ศิลปินผู้สรรค์สร้างความงามบนผืนหญ้า
หากจะพูดถึงนักเตะที่มีพรสวรรค์ทางเทคนิคมากที่สุดที่เคยเหยียบสนามพรีเมียร์ลีก เดนนิส เบิร์กแคมป์ ตำนานอาร์เซนอล ตลอดกาล ต้องเป็นหนึ่งในชื่อแรกๆ ที่ทุกคนนึกถึง เพลย์เมกเกอร์ชาวดัตช์ผู้ซึ่งไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนคนนี้ ได้มอบช่วงเวลาอันน่าทึ่งให้กับแฟนบอลพรีเมียร์ลีกครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยการควบคุมบอลที่เหนือชั้นและวิสัยทัศน์ในการเล่น ที่มองเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น
เบิร์กแคมป์ ได้รับการโหวตให้เป็นนักเตะยอดเยี่ยมประจำฤดูกาล 1996/1997 ของอาร์เซนอล ก่อนจะมีบทบาทสำคัญในการพาทีมคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรก ภายใต้การคุมทีมของ อาร์แซน เวนเกอร์ ในฤดูกาลถัดมา โดยได้รับการยกย่องเป็นนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปี PFA และนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปี FWA ในฤดูกาล
แสงแห่งอัจฉริยภาพของ เบิร์กแคมป์ ส่องประกายอย่างสมบูรณ์แบบที่สุดในเดือนสิงหาคม 1997 เมื่อเขาทำแฮตทริกที่อาจเป็นแฮตทริกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก ใส่ เลสเตอร์ ซิตี้ โดยเฉพาะประตูที่สาม ที่เขาใช้การควบคุมบอล การหมุนตัว และการจบสกอร์ที่สมบูรณ์แบบ จนกลายเป็นหนึ่งในจังหวะที่สวยงามที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก
หากถามแฟนอาร์เซนอลว่า ใครคือนักเตะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขา? คำตอบจะได้รับมักเป็นหนึ่งในสองชื่อ คือ หนึ่ง เธียร์รี อองรี
และสอง เดนนิส เบิร์กแคมป์ กองกลางชาวดัตช์ที่นำความสง่างาม... และความประณีตมาสู่ทุกสิ่งที่เขาทำ ไม่เพียงแค่แฟนบอล แต่รวมถึงเพื่อนร่วมทีม ต้องประทับใจกับทักษะบางอย่างที่เขาสามารถทำได้ จนเขากลายเป็นซูเปอร์สตาร์ที่ไฮบิวรีทันที และมีความสำคัญต่อความสำเร็จของ อาร์เซนอล ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี
ในด้านสถิติแห่งความยิ่งใหญ่ของ เดนนิส เบิร์กแคมป์ ลงเล่นไปทั้งหมด 135 เกม ทำประตูได้ 55 ลูก ทำแอสซิสต์ 48 ครั้ง และคว้าแชมป์ลีก 1 สมัย
ส่วนเกียรติยศส่วนตัว เคยคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยม PFA และรางวัลนักเตะยอดเยี่ยม FWA ในปี 1997/1998 รางวัลอันดับ 3 นักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของ FIFA ติดทีมยอดเยี่ยมแห่งปี PFA รางวัลประตูยอดเยี่ยมแห่งฤดูกาลพรีเมียร์ลีก 2 ครั้ง รางวัลแอสซิสต์สูงสุดพรีเมียร์ลีก และรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งเดือนพรีเมียร์ลีก อีก 4 ครั้ง
“จานฟรังโก โซล่า” เพชรเม็ดงามแห่งสแตมฟอร์ด บริดจ์
เมื่อมีนักเตะคนหนึ่งเก่งมากจนถึงขั้นทำให้ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ต้องหงุดหงิดทุกครั้งในเวลาที่เจอกันในสนาม เขาต้องเป็นนักเตะที่พิเศษอย่างแท้จริง นั่นคือกรณีของ จานฟรังโก โซล่า มิดฟิลด์ชาวอิตาเลียนจากเชลซี ซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ และทักษะที่ทำให้เขาแตกต่างจากนักเตะอื่นๆที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ เคยมีในช่วงเวลานั้น
โซล่า เดินทางมาอังกฤษในช่วงปลายปี 1996 เพื่อเข้าร่วมกับการปฏิวัติสไตล์ยุโรปของ รุด กุลลิต ที่เชลซี พร้อมกับเพื่อนร่วมชาติอย่าง จานลูกา วิอัลลี่ และ โรแบร์โต ดี มัตเตโอ โดยมองหาโอกาสในการแสดงศักยภาพในตำแหน่งที่เขาชื่นชอบ และไม่นานนัก เขาก็กลายเป็นที่ชื่นชอบของแฟนบอลในลอนดอนตะวันตกอย่างรวดเร็ว
ความสามารถในการเลี้ยงบอลอย่างคล่องแคล่วและวิสัยทัศน์ในการมองเห็นประตูของนักเตะวัย 30 ปีในตอนนั้น ปรากฏชัดตั้งแต่ช่วงคริสต์มาส เขาสร้างความประทับใจให้กับแฟนเชลซีอยู่บ่อยครั้ง ด้วยช่วงเวลาแห่งความเป็นอัจฉริยะส่วนตัว การหมุนตัวแบบ โยฮัน ครัฟฟ์ และการยิงประตูใส่วิมเบิลดัน ในรอบรองชนะเลิศเอฟเอ คัพ อาจเป็นผลงานชิ้นเอกจาก 12 ประตูในปีนั้น ด้วยการนำแนวรุกร่วมกับ มาร์ค ฮิวจ์ส เชลซีสามารถคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ได้เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์
ข้อเสียเพียงอย่างเดียวของช่วงเวลาที่ โซล่า อยู่ในลีกฟุตบอลอังกฤษ คือมันเกิดขึ้นก่อนที่เชลซี จะกลายเป็นทีมที่ครองอำนาจในพรีเมียร์ลีก ภายใต้การกุมบังเหียนของ โชเซ่ มูรินโญ่ ทำให้ โซล่า ไม่เคยได้สัมผัสเหรียญแชมป์พรีเมียร์ลีก ซึ่งเขาสมควรได้รับมัน
อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้ลดทอนข้อเท็จจริงที่ว่าเขาเป็นอัจฉริยะ เมื่อมีลูกบอลอยู่ตรงเท้า และเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่กองหลังยากจะหยุดเขาได้มากที่สุด ในช่วงยุค 90’s
รางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของ FWA จากการทำประตูได้อย่างสม่ำเสมอในฤดูกาลถัดมา ในปี 1997 เมื่อเชลซี คว้าทั้งลีกคัพ และยูฟ่า คัพวินเนอร์ส คัพ แม้จะไม่ฟิตเต็มที่สำหรับเกมหลัง แต่ โซล่า ก็สลัดอาการเจ็บจากม้านั่งสำรอง ด้วยการวิ่งเข้าไปหลังแนวรับสตุ๊ตการ์ท เพื่อยิงประตูชัยอย่างเฉียบคม ทำให้ชื่อของเขาถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์สโมสรอย่างไม่มีวันลืม
ด้วยสถิติการลงเล่น 104 เกม ยิงได้ 30 ประตู และทำไป 10 แอสซิสต์ 10
ด้านเกียรติยศส่วนตัว เขาเคยคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำเดือนพรีเมียร์ลีก กับเชลซี มาแล้ว 2 ครั้ง ในเดือน ธันวาคม ปี 1996 และในเดือนตุลาคม ปี 2002
เมื่อย้อนกลับไปมองพรีเมียร์ลีกในยุค 90's เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า 5 ซูเปอร์สตาร์เหล่านี้ คือผู้วางรากฐานสำคัญให้กับการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกฟุตบอล พวกเขาไม่เพียงแค่มอบความบันเทิงในสนามเท่านั้น แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักฟุตบอลรุ่นต่อๆมา และทำให้ผู้คนทั่วโลกหลงใหลในเสน่ห์ของพรีเมียร์ลีก อย่างถอนตัวไม่ขึ้น
จากความประณีตในทุกจังหวะการสัมผัสบอลของเบิร์กแคมป์ การเซฟอันน่าเหลือเชื่อของ ปีเตอร์ ชไมเคิล
ลูกยิงอันทรงพลังของ อลัน เชียเรอร์ และความเป็นอัจฉริยะของ โซล่า ไปจนถึงความเป็นตำนานของ เอริค คันโตน่า
ทุกคนล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ซึ่งพวกเขาสร้างช่วงเวลาอันน่าจดจำที่จะอยู่ในใจ
ของแฟนบอลตลอดไป... นี่คือตำนานแห่งพรีเมียร์ลีกในอดีตและปัจจุบัน “การเข้ามาเพิ่มคลาสให้พรีเมียร์ลีกมีมิตินุ่มลึกมากขึ้น
ของแข้งดังระดับซูเปอร์สตาร์ ในช่วงยุค 90's” เรื่องราวสุดนุ่มลึกในแบบของ GUINNESS BEAUTIFUL GAME SOCIETY
ที่อยากให้ทุกคนลองสัมผัส