โดยการจัดอันดับดังกล่าว ทาง QS ครอบคลุมในด้าน วิทยาศาสตร์การกีฬาหรือการออกกำลังกาย, การศึกษาทางการกีฬาและการเคลื่อนไหว รวมถึงจิตวิทยาทางการกีฬา และการจัดการทางกีฬา เป็นหลัก โดยมีเกณฑ์ชี้วัดคือ ชื่อเสียงทางวิชาการ, ชื่อเสียงจากมุมมองของนายจ้างในการรับเข้าทำงาน รวมถึงผลกระทบของงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนั้นๆ ที่มีต่อสังคม ซึ่ง 10 อันดับมหาวิทยาลัยกีฬาที่ดีที่สุดในโลกของปี 2018 นี้
Facebook : Seoul National University
หนึ่งเดียวจากทวีปเอเชียที่ขึ้นมาติดทำเนียบ 10 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยกีฬา โดยหลักสูตรการจัดการกีฬาสากล ถือเป็นอีกหลักสูตรที่บุคลากรวงการกีฬา รวมถึงนักกีฬาให้ความสนใจ เพราะหลักสูตรนานาชาตินี้เปิดรับสมัครนักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลก ยิ่งเป็นนักกีฬาที่ผ่านการแข่งขันระดับโลกมาแล้ว ยิ่งได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
นอกเหนือจากนั้นแล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนี้ยังได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยดังๆ อาทิ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย, โรงเรียนบริหารธุรกิจสโลน ของเอ็มไอที และโรงเรียนบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเยล ในการจัดหลักสูตรร่วมกันอีกด้วย
สถานบันการศึกษาที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “เอ็มไอที” แห่งนี้คือมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลกจากการจัดอันดับของ QS หลายสมัย ซึ่งแม้อาจจะไม่มีโปรแกรมกีฬาที่สุดยอดเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่ในส่วนของวิชาการ โดยเฉพาะหลักสูตรทางการบริหาร ที่นี่ถือเป็นหนึ่งในเพชรยอดมงกุฎเลยทีเดียว
ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ทำให้มหาวิทยาลัยนี้มีชื่อเสียงด้านการกีฬา คือการจัดงาน MIT Sloan Sports Analytics Conference งานประชุมด้านการวิเคราะห์ทางกีฬาที่จัดโดยโรงเรียนบริหารธุรกิจสโลน ของเอ็มไอทีเอง ซึ่งถือเป็นงานประชุมทางวิชาการกีฬาที่โด่งดังที่สุดรายการหนึ่งของโลก งานดังกล่าวถือเป็นงานคุณภาพ มีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงตัวแทนจากทีมกีฬาอาชีพระดับโลกร่วมงาน ตลอดจนสามารถดึงดูดบุคคลที่มีชื่อเสียงให้มากล่าวปาฐกถาได้มากมายในทุกๆ ปี
Picture :Facebook : University of Pennsylvania
แฟนกีฬาในระดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาอาจจะรู้จักมหาวิทยาลัยนี้ในชื่อย่อ “เพนน์ สเตท” มากกว่า ซึ่งที่นี่ได้สร้างศิษย์เก่าชั้นแนวหน้า อย่าง คุณพิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมเทควันโด้แห่งประเทศไทย ที่จบการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์
นอกเหนือจากนั้น เพนน์ สเตท ยังถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีโปรแกรมกีฬาแข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา สร้างนักกีฬาชื่อดังสู่ระดับอาชีพมากมาย อาทิ นาวอร์โร่ โบว์แมน อดีตไลน์แบ็กเกอร์ของ ซานฟรานซิสโก โฟร์ตี้ไนเนอร์ส และ โอ๊คแลนด์ เรดเดอร์ส รวมถึง ฌอน ลี ไลน์แบ็กเกอร์ทีม ดัลลัส คาวบอยส์
อย่างไรก็ตาม แม้พวกเขาจะสุดยอดในสนาม แต่ก็เคยมีเรื่องอื้อฉาวนอกสนาม เมื่ออดีตโค้ชของทีมอเมริกันฟุตบอลก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศเด็กผู้ชายหลายสิบราย จนตัวโค้ชต้องโทษจำคุก, มหาวิทยาลัยถูกปรับมหาศาลรวมกันกว่า 73 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, โดนตัดสิทธิ์การให้ทุนการศึกษา รวมถึงลบสถิติการแข่งขันของทีมอเมริกันฟุตบอล เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทางมหาวิทยาลัยต้องสูญเสียนักกีฬาและว่าที่นักกีฬาฝีมือดีไปมากมาย และคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ กว่าที่โปรแกรมกีฬาของพวกเขาจะกลับมาสู่จุดที่เคยยืนได้อีกครั้ง
Picture : Facebook : University of Alberta
ถือเป็นอีกมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านกีฬาถึงขั้นต้องเปิดคณะเฉพาะทางด้านนี้โดยเฉพาะ โดยคณะการเคลื่อนไหว, กีฬา และนันทนาการของพวกเขาก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1945 ในฐานะส่วนหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์ ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็นคณะเมื่อปี 1964
โดยหลักสูตรของคณะดังกล่าวถือได้ว่าครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านการแพทย์, การบริหาร นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรกีฬากับการท่องเที่ยวอีกด้วย ขณะที่โปรแกรมกีฬาของพวกเขาก็ไม่น้อยหน้าใคร ถือเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ครบเครื่องเรื่องนี้อย่างแท้จริง
ที่สำคัญคือ มีบุคลากรสำคัญในวงการกีฬาของไทยที่จบจากมหาวิทยาลัยนี้ด้วย นั่นคือ ดร.ณัฐ อินทรปาณ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลตัวแทนประเทศไทย ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาพลศึกษา
สำหรับนักกีฬาที่มีความสนใจด้านการเรียน ที่นี่น่าจะเป็นตัวเลือกในดวงใจ เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีสาธารณูปโภคทางกีฬาระดับแนวหน้าไม่น้อยที่ไหน รวมถึงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีโปรแกรมกีฬาแข็งแกร่งที่สุดในอเมริกาเหนือ จากการมีทีมกีฬาถึง 44 ทีม ลงแข่งในกีฬา 26 ชนิด ทั้งทีมชายและทีมหญิง
ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยแห่งนี้ยังมีหลักสูตรทางการกีฬาระดับแนวหน้าของแคนาดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านธุรกิจการกีฬา โดยการประชุมอุตสาหกรรมกีฬา (Sports Industry Conference) ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้เริ่มต้นจัดมาตั้งแต่ปี 2012 ยังถือเป็นงานประชุมด้านนี้ที่จัดโดยนักศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแคนาดาอีกด้วย
Picture : Facebook : University of Birmingham
ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอย่างมากด้านหลักสูตรการบริหารจัดการกีฬา รวมถึงวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งมีผลงานทางวิชาการมากมาย ขณะที่ศิษยเก่าของพวกเขาก็มีหลายคนที่ก้าวไปถึงระดับแนวหน้าบนเส้นทางสายบริหาร อาทิ แพทริค เฮด ผู้ร่วมก่อตั้งทีมแข่งรถสูตรหนึ่ง วิลเลี่ยมส์ รวมถึง เดวิด กิลล์ อดีตซีอีโอมือทองของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งปัจจุบันเป็นรองประธานของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า
4. University of British Columbia - Canada / มหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย - แคนาดา
Picture : Facebook : University of British Columbia
อาจเป็นที่รู้จักจากคนทั่วไปในฐานะมหาวิทยาลัยที่ จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีของแคนาดาเคยศึกษา แต่ที่นี่ก็ถือเป็นอีกมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าในด้านกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากใครที่สนใจด้านเวชศาสตร์การกีฬา ที่นี่ถือว่าตอบโจทย์อย่างยิ่ง เพราะมีหลักสูตรทางการแพทย์สำหรับกีฬาให้ศึกษาหลายหลักสูตร
Picture : Facebook : The University of Queensland
อีกมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียที่เข้ามาอยู่ใน 10 อันดับแรกของการจัดอันดับครั้งนี้ อาจจะมีชื่อเสียงด้อยกว่า 2 อันดับแรกอยู่บ้างในแง่ของศิษย์เก่าและการรับเข้าทำงาน แต่ในแง่วิชาการก็ถือว่ามหาวิทยาลัยนี้ไม่น้อยหน้า กับการผลิตผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีความหลากหลายกว้างขวางมากด้วยเช่นกัน ส่วนชีวิตนักศึกษา ที่นี่ก็มีชมรมกีฬาและนันทนาการให้เลือกมากมายไม่ยิ่งหย่อนอีกด้วย
จำนวนศิษย์เก่าสายกีฬาที่มีชื่อเสียงโด่งดังอาจจะมากสู้มหาวิทยาลัยลัฟบราไม่ได้ แต่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ซึ่งเคยรั้งอันดับ 1 ร่วมในการจัดอันดับครั้งแรกเมื่อปี 2017 (ก่อนจะเสียตำแหน่งในปีนี้) ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องกีฬาเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่นี่มีชมรมกีฬาและนันทนาการให้เลือกมากถึง 42 ชมรม
ยิ่งไปกว่านั้น หลักสูตรการเรียนของที่นี่ยังมีความหลากหลายและกว้างขวาง ที่สำคัญที่สุดคือ จบที่นี่การันตีมีงานทำ เพราะอันดับในด้านการรับเข้าทำงานของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ สูงถึงอันดับ 4 ของโลกเลยทีเดียว
Picture : Facebook : Loughborough University
มหาวิทยาลัยชื่ออ่านยาก (ซึ่งเราไปเช็กข้อมูลจากศิษย์เก่าแล้วว่าอ่านแบบนี้) โฆษณาตัวเองว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลกในด้านกีฬา ซึ่งไม่เกินความจริงสักนิด
เพราะไล่เรียงรายชื่อศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยนี้ ต้องบอกเลยว่า คุณภาพคับแก้วอย่างแท้จริง เริ่มจาก ลอร์ด เซบาสเตียน โค ประธานสหพันธ์กรีฑานานาชาติ หรือ ไอเอเอเอฟ ซึ่งปัจจุบันเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งนี้, พอลล่า แรดคลิฟฟ์ ตำนานนักวิ่งระยะไกลของสหราชอาณาจักร, เซอร์ ไคล์ฟ วู้ดเวิร์ด อดีตเฮดโค้ชรักบี้ทีมชาติอังกฤษชุดแชมป์โลกปี 2003, ร็อบ สเม็ดลี่ย์ หัวหน้าวิศวกรทีมรถสูตรหนึ่ง วิลเลี่ยมส์, บ็อบ วิลสัน อดีตโค้ชผู้รักษาประตูของ อาร์เซน่อล แม้กระทั่ง แดเนี่ยล เบนเน็ตต์ กองหลังทีมชาติสิงคโปร์ ก็จบจากที่นี่
ยิ่งไปกว่านั้น ความเพียบพร้อมของสถานที่ ยังทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้รับเลือกให้เป็นแคมป์เก็บตัวนักกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกของสหราชอาณาจักร ก่อนมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงลอนดอนเมื่อปี 2012 อีกด้วย